เมื่อวานนี้ สำนักข่าวต่างประเทศหลายสำนักได้รายงานว่า กองทัพยูเครนระเบิดสะพานเคียร์ช ที่เชื่อมระหว่างแผ่นดินใหญ่ของรัสเซียกับคาบสมุทรไครเมีย โดยผลจากการโจมตีทำให้สะพานส่วนหนึ่งเสียหายจนต้องปิดชั่วคราว หลังเกิดเหตุโจมตีดังกล่าว วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ได้เรียกเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าประชุม โดยผู้นำรัสเซียได้ประณามการระเบิดสะพานเคียร์ชว่าเป็นการก่อการร้าย เพราะมีพลเรือนถูกสังหาร ขณะเดียวกันก็ระบุว่า รัสเซียกำลังเตรียมาตรการตอบโต้กับสิ่งที่เกิดขึ้น
เกิดเหตุคล้ายระเบิดบริเวณสะพานเชื่อมไครเมีย-รัสเซีย เสียชีวิต 2 ราย
“ปูติน” จ้องเอาคืนยูเครน หลังเหตุถล่มสะพานไครเมียเป็นครั้งที่ 2
ครบรอบ 5 ปี รัสเซียเปิดสะพานไครเมีย “เคิร์ช” สัญลักษณ์ขัดแย้งยูเครน
นอกจากนี้ ผู้นำรัสเซียยังได้กล่าวถึงครอบครัวผู้เสียชีวิตจากเหตุระเบิดสะพานเคียร์ชในครั้งนี้ด้วย โดยระบุว่าตนเองได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ประจำภูมิภาคช่วยเหลือครอบครัวผู้สูญเสียเรียบร้อยแล้ว
หลายฝ่ายมองว่าเมื่อพิจารณาจากท่าทีและคำพูดของประธานาธิบดีปูติน จะเห็นได้ว่าผู้นำรัสเซียไม่พอใจกับเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างมาก เพราะนี่ถือเป็นครั้งที่ 2 แล้วที่สะพานแห่งนี้ถูกโจมตี หลังจากถูกโจมตีครั้งแรกไปเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ปี 2022 ที่ผ่านมา โดยรัสเซียอ้างว่าเป็นฝีมือของยูเครน
อย่างไรก็ดี สะพานเคียร์ชไม่ใช่สะพานแห่งเดียวในแคว้นไครเมียที่ถูกโจมตี เพราะย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 22 มิถุนายนที่ผ่านมา ยูเครนได้ใช้ขีปนาวุธสตอร์ม แชโดว์ (Storm Shadow) ยิงถล่มสะพานชอนการ์ สะพานสำคัญที่เชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ในแคว้นเคอร์ซอนทางภาคตะวันออกและแคว้นไครเมีย ทางภาคใต้ของยูเครน จนทำให้สะพานเสียหาย บางจุดเป็นรูโหว่ขนาดใหญ่ แต่ตอนนั้น ผู้นำรัสเซียไม่ได้ออกมาแสดงท่าทีกับเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างที่ออกมาแถลงเรื่องสะพานเคียร์ช โดยสาเหตุหลักๆ อาจเป็นเพราะสะพานเคียร์ชมีความสำคัญต่อรัสเซียและประธานาธิบดีปูตินมากกว่าสะพานชอนการ์คำพูดจาก เครื่องสล็อต
สะพานเคียร์ชเป็นสะพานที่มีความยาว 18.1 กิโลเมตร ถือเป็นสะพานที่ยาวที่สุดในยุโรป ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2018 หรือ 4 ปีหลังการผนวกคาบสมุทรไครเมีย ภายใต้งบประมาณมูลค่ามหาศาลกว่า 3,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 125,000 ล้านบาทสะพานนี้มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ที่ทำหน้าที่เชื่อมระหว่างคาบสมุทรไครเมียและแผ่นดินใหญ่ของรัสเซีย รวมถึงมีความสำคัญในเชิงสัญลักษณ์ด้วย
ความสำคัญในทางยุทธศาสตร์ของสะพานเคียร์ชสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี กรณีแรกในภาวะปกติที่ไม่มีศึกสงคราม สะพานแห่งนี้ถือเป็นทางเชื่อมเข้าและออกทางเดียวระหว่างแคว้นไครเมีย ที่เคยเป็นของยูเครนและแคว้นคราสโนดาร์ แผ่นดินใหญ่ของรัสเซีย น้ำมัน สินค้า อาหาร รวมถึงสิ่งของจำเป็นต่างๆ จะถูกส่งจากแผ่นดินใหญ่ของรัสเซียมายังคาบสมุทรไครเมียผ่านสะพานแห่งนี้ และ กรณีที่สองในภาวะสงคราม หลังรัสเซียเข้ารุกรานยูเครนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ปี 2022
สะพานเคียร์ชได้ทำหน้าที่เป็นเส้นทางขนส่งเสบียงทางการทหารที่สำคัญ ทำให้กองทัพรัสเซียสามารถส่งเสบียงไปในดินแดนที่ถูกยึดครองได้ ไม่ว่าจะเป็นเมืองซิมเฟอโรโตปอล เซวัสโตปอล ดชานกี รวมถึงพื้นที่ทางตอนใต้ เช่น แคว้นเคอร์ซอนตะวันตกและพื้นที่บางส่วนของแคว้นซาโปริซเซีย ผ่านการใช้สะพานทั้งส่วนที่เป็นถนนและส่วนที่เป็นรางรถไฟ
ดังนั้นหากการทำลายสะพานเคียร์ชจนเสียหายถึงขั้นต้องปิดใช้งานถาวร จะสร้างความเสียหายให้กับการขนส่งเสบียงของฝั่งรัสเซีย ไม่ว่าจะเป็นอาวุธ กระสุน น้ำมัน รวมถึงกำลังพล เข้ามาบริเวณคาบสมุทรไครเมีย เนื่องจากกองทัพรัสเซียจะต้องเปลี่ยนไปใช้เส้นทางทางบกเลียบชายฝั่งทะเลอาซอฟชั่วคราว โดยถนนจะเชื่อมแคว้นรอสตอฟออนดอนของรัสเซียมาสู่เมืองมาริอูปอล เมืองเบอร์เดียนสก์ เมืองเมลิโตปอล ก่อนที่จะขนย้ายกำลังเหล่านั้นต่อเข้ามายังเมืองดชานกี เมืองซิมเฟโรโตปอล และเมืองเซวาสโตปอล ที่ตั้งฐานเรือรัสเซียในทะเลดำ
ขณะเดียวกัน ประชาชนที่ใช้รถยนต์ก็ต้องหันไปใช้เส้นทางนี้ด้วยเช่นกัน หากต้องการเดินทางไปยังแผ่นดินใหญ่ของรัสเซีย ซึ่งค่อนข้างอันตรายเนื่องจากเส้นทางทางบกตั้งอยู่ในพื้นที่สงคราม
นอกจากความสำคัญทางยุทธศาสตร์แล้ว สะพานเคียร์ชยังมีความสำคัญในเชิงสัญลักษณ์กับรัสเซีย โดยเฉพาะกับตัวประธานาธิบดีปูติน เพราะถือเป็นสัญลักษณ์ของการผนวกดินแดนประวัติศาสตร์อย่างคาบสมุทรไครเมียกลับมาเป็นของรัสเซีย
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ปี 2018 ประธานาธิบดีปูตินได้เดินทางไปร่วมพิธีเปิดและขับบรรทุกข้ามสะพานแห่งนี้เพื่อเป็นปฐมฤกษ์ด้วยตนเอง ยิ่งไปกว่านั้น สะพานแห่งนี้ถือเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงศักยภาพของประธานาธิบดีปูตินในการส่งมอบโครงสร้างพื้นฐานสำคัญให้ไครเมีย และสะท้อนความฝันของเขาในการฟื้นฟูรัสเซียให้กลับคืนสู่ความยิ่งใหญ่เฉกเช่นในอดีต
ดังนั้นการระเบิดสะพานเคียร์ชจึงถือเป็นการทำลายความฝันและลูบคมผู้นำรัสเซียไปด้วยในเวลากัน โดยคาดว่าผู้ที่ลงมือก่อเหตุในครั้งนี้เป็นกองทัพยูเครน
เนื่องจากเมื่อวานนี้ สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวในหน่วยงานความมั่นคงกลางของยูเครน หรือ SBU ที่ระบุว่า ปฏิบัติการครั้งนี้เป็นปฏิบัติการร่วมระหว่าง SBU และกองทัพเรือของยูเครน
ขณะที่สำนักข่าวสกายนิวส์ของสหราชอาณาจักรก็รายงานไปในทิศทางเดียวกันว่า สื่อของยูเครนรายงานว่า หน่วยงานความมั่นคงกลางของยูเครน คือผู้ลงมือก่อเหตุด้วยการใช้เรือไร้คนขับ
ชัค ฟาร์เรอร์ อดีตหัวหน้าหน่วยซีลของกองทัพสหรัฐฯ ให้ความเห็นว่า กองทัพเรือยูเครนอาจใช้เรือไร้คนขับรุ่น 2 จำนวน 2 ลำที่บรรทุกวัตถุระเบิดแรงสูงขนาดกว่า 454 กิโลกรัม พุ่งเข้าโจมตีใต้สะพานเคียร์ชเมื่อวันจันทร์ เวลา 03.00 น. และ 03.20 น.
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่กองทัพยูเครนพยายามโจมตีกองทัพรัสเซียด้วยเรือไร้คนขับ ที่ผ่านมา ยูเครนได้พยายามใช้เรือไร้คนขับโจมตีเรือรบรัสเซียถึง 3 ครั้ง โดยครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคมปี 2022 ที่ผ่านมา ส่วนการโจมตีครั้งที่ 2 และ 3 เกิดขึ้นเมื่อเดือนมีนาคมและเมษายนที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี สำนักข่าวยูเรเชียไทม์รายงานว่าการโจมตีทั้ง 3 ครั้ง ไม่สามารถโจมตีกองเรือของรัสเซียจนเสียหายได้ จนกระทั่งในครั้งนี้ เรือไร้คนขับของยูเครนสามารถระเบิดสะพานเคียร์ชจนได้รับความเสียหาย
หลายฝ่ายวิเคราะห์ว่าการโจมตีสะพานเคียร์ชด้วยเรือไร้คนขับครั้งนี้ ถือเป็นการส่งสัญญาณเตือนจากฝั่งยูเครนว่าการสู้รบทางทะเลอาจเข้าสู่เฟสใหม่เรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ดี หลายฝ่ายประเมินว่าการระเบิดสะพานเคียร์ชอาจไม่ได้ส่งผลกระทบกับการรบอย่างหนักจนเป็นการเปลี่ยนสถานการณ์ในสงคราม
การโจมตีครั้งนี้จึงเป็นการโจมตีในเชิงสัญลักษณ์ของยูเครนเพื่อแสดงให้ชาติตะวันตกเห็นว่ายูเครนมีความคืบหน้าอยู่บ้างท่ามกลางปฏิบัติการโต้กลับในสมรภูมิต่างๆ ที่คืบหน้าล่าช้ากว่าที่หลายฝ่ายประเมินไว้เท่านั้น และล่าสุดทางการรัสเซียได้กลับมาเปิดสะพานเคียรช์บางส่วนให้รถยนต์วิ่งได้ตามปกติแล้ว
เมื่อช่วงสายวานนี้ มารัต คุซนูลลิน รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย ได้ประกาศผ่านเทเลแกรมส่วนตัวว่า ทางการได้เปิดถนนบางเลนให้ประชาชนขับรถสัญจรไปมาได้แล้ว โดยจะให้วิ่งสวนทางกันในพื้นที่เลนขวาด้านนอกสุดของถนนที่ไม่ได้รับความเสียหายจากการโจมตี
ขณะเดียวกัน รองนายกรัฐมนตรีรัสเซียรายนี้ยังได้เปิดเผยวิดีโอผ่านเทเลแกรมส่วนตัว ขณะที่เขาเดินทางไปสำรวจความเสียหายของสะพานแห่งนี้ด้วยตนเอง โดยภาพแสดงให้เห็นถึงความเสียหายของสะพานที่ค่อนข้างหนักพอสมควร แม้สะพานเคียร์ชจะไม่ได้รับความเสียหายหนักจนถึงขั้นต้องปิดถาวร แต่การโจมตีที่เกิดขึ้น ทำให้รัสเซียโจมตีทางอากาศใส่ยูเครนอย่างหนักเพื่อเป็นการตอบโต้ตั้งแต่ช่วงกลางดึกจนถึงช่วงเช้าของวันนี้
หน่วยบัญชาการปฏิบัติการทางตอนใต้ของกองทัพยูเครนรายงานว่า พื้นที่ทางภาคใต้ของยูเครนหลายแห่งถูกรัสเซียโจมตีทางอากาศหลายระลอก โดยมีทั้งโดรนชาเฮด-136 จำนวน 25 ลำ และขีปนาวุธร่อนอีกราวๆ 6 ลูก
ทั้งนี้ หน่วยบัญชาการทางใต้ของยูเครนรายงานว่า สามารถสกัดขีปนาวุธไว้ได้ทั้งหมด โดยมีโดรนชาเฮด-126 จำนวน 21 ลำถูกยิงสกัดไว้ได้ที่แคว้นโอเดสซา ขณะเดียวกันมีโดรนอีก 4 ลำ ถูกยิงสกัดไว้ได้ที่แคว้นมิโคลายิฟที่อยู่ถัดออกมาจากแคว้นโอเดสซา ส่วนขีปนาวุธร่อนทั้ง 6 ลูก ก็ถูกสกัดไว้ได้ที่แคว้นโอเดสซาเช่นเดียวกัน
นอกจากการโจมตีด้วยโดรนแล้ว มีรายงานด้วยว่ารัสเซียได้ยิงปืนใหญ่โจมตีบางพื้นที่ของแคว้นซาโปริซเซียอย่างหนัก จนทำให้มีพลเรือนที่เป็นผู้สูงอายุวัย 72 ปีเสียชีวิต รวมถึงมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 5 คน
นอกจากการโจมตีสะพานเคียร์ชและการโจมตีทางอากาศ ตอนนี้การสู้รบในสมรภูมิต่างๆ ของยูเครนยังเป็นไปอย่างดุเดือด โดยเฉพาะพื้นที่เมืองบัคมุตในแคว้นโดเนตสก์ ทางภาคตะวันออกของยูเครน ขณะเดียวกัน กองทัพยูเครนรายงานว่า รัสเซียได้ประจำการทหารจำนวนมากในพื้นที่แนวรบด้านตะวันออกเฉียงเหนือของยูเครน
เมื่อวานนี้ เซอร์เก เชเรียวาตี โฆษกกองบัญชาการภาคตะวันออกของยูเครนรายงานว่า รัสเซียได้ย้ายกองกำลังทหารกว่า 100,000 นาย รถถังมากกว่า 900 คัน ปืนใหญ่ 550 กระบอก และจรวดซัลโวกว่า 300 ชิ้น มายังแนวรบเมืองคูเปียนสก์และลีมาน อย่างไรก็ดี ตอนนี้ยังไม่มีฝ่ายใดสามารถยืนยันได้ว่า รัสเซียประจำการทหารจำนวนมากเช่นนั้นจริงหรือไม่
แต่ถ้าหากข้อมูลดังกล่าวเป็นเรื่องจริง หมายความว่ารัสเซียอาจกำลังวางแผนเพื่อยึดพื้นที่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือทีละน้อย ท่ามกลางความชะงักชะงันของยูเครนในแนวรบแคว้นซาโปริซเซียและแนวรบภูมิภาคดอนบาส
นอกจากความเคลื่อนไหวของกองทัพรัสเซียในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว ล่าสุดวันนี้ สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานว่า กองกำลังนักรบรับจ้างแวกเนอร์กลุ่มแรก ที่เลือกไม่เซ็นสัญญากับกองทัพรัสเซีย หลังจากร่วมกับเยฟเกนี ปริโกชิน ผู้ก่อตั้งกลุ่มก่อกบฏในรัสเซียเมื่อวันที่ 23 มิถุนายนที่ผ่านมา ได้เดินทางถึงค่ายชั่วคราวในประเทศเบลารุสแล้ว
หลักฐานที่เผยให้เห็นถึงการมาถึงของกลุ่มแวกเนอร์กลุ่มแรกในเบลารุส มาจากภาพถ่ายทางดาวเทียมของแพลนเน็ต แลป โดยภาพถ่ายแสดงให้เห็นว่ากลุ่มแวกเนอร์เดินทางถึงค่ายดังกล่าวเมื่อเวลา 11.00 น.ของวันนี้ตามเวลาท้องถิ่น นี่ถือเป็นครั้งแรกที่กลุ่มแวกเนอร์ปรากฏตัว หลังจากพยายามร่วมกับปริโกชินก่อกบฏในรัสเซีย
ขณะเดียวกัน สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานเพิ่มเติมว่า เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา มีขบวนรถของกลุ่มแวกเนอร์อีกอย่างน้อย 2 ขบวนกำลังมุ่งหน้ามายังฐานทัพในเบลารุส ขบวนหนึ่งมีรถอย่างน้อย 109 คัน และอีกขบวนมีรถอย่างน้อย 96 คัน ทั้งสองขบวนมีรถยนต์และรถบรรทุกสไตล์พลเรือนหลายสิบคัน นอกเหนือจากรถตู้ รถโดยสาร รถพ่วงหัวลากขนาดใหญ่ รถขนส่งของเหลวและรถพ่วง รวมถึงรถบรรทุกขนาดใหญ่คล้ายของทหาร
การมาถึงของกลุ่มแวกเนอร์ในวันนี้กำลังสร้างความกังวลให้แก่หลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นยูเครน หรือชาติกลุ่มบอลติก เช่น โปแลนด์ ลิทัวเนีย และลัตเวีย ที่มีชายแดนติดกับประเทศเบลารุส
เนื่องจากประธานาธิบดีลูคาเชนโกเคยระบุว่า ต้องการให้กลุ่มแวกเนอร์มาพักอยู่ในเบลารุส และหวังให้กลุ่มแวกเนอร์ใช้ประสบการณ์ขั้นสูงที่มี สอนทหารในกองทัพเบลารุสรบ เพื่อเตรียมรับมือกับภัยคุกคามในอนาคต ซึ่งภัยคุกคามดังกล่าวก็คือ ชาติกลุ่มบอลติกที่เป็นสมาชิกนาโต
ส่วนฝั่งยูเครนก็กังวลกับเรื่องนี้เช่นเดียวกัน เนื่องจากมองว่านี่อาจเป็นหนึ่งในแผนการเพื่อบุกเข้ายึดกรุงเคียฟจากทางตอนเหนือ เพื่อปิดฉากสงครามยูเครนที่ดำเนินยืดเยื้อมานานจนเข้าสู่ปีที่สองแล้ว